ทรงกระบอกมีจุก

knobbed-cylinders

อุปกรณ์                      

               ทรงกระบอกมีจุก 4 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยทรงกระบอกขนาดแตกต่างกัน 10 ชิ้นดังนี้

  • ชุดที่ 1   มีเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงที่ลดลงตามลำดับ
  • ชุดที่ 2   มีส่วนสูงเท่ากันแต่เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดลดลงตามลำดับ
  • ชุดที่ 3   มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ลดลงและความสูงที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ
  • ชุดที่ 4   มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันแต่ส่วนสูงลดลงตามลำดับ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาประสาทรับรู้ด้านการมองเห็นในมิติต่างๆ
  • เพื่อพัฒนาการทำงานประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเคลื่อนไหว
  • เพื่อฝึกทักษะและประสบการณ์ในการเรียงลำดับ
  • เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการอ่านและการเขียนทางอ้อม

กลไกควบคุมความผิดพลาด

               ทรงกระบอกแต่ละชิ้นจะใส่ได้พอดีในแต่ละช่องของมันเองเท่านนั้น ถ้าเด็กใส่ผิดช่อง    ทรงกระบอกก็จะไม่พอดีกับช่อง

คำศัพท์ที่ได้  

  • สูง สูงกว่า สูงที่สุด สูงเท่า สูงไม่เท่า
  • ลึก ลึกกว่า ลึกที่สุด
  • ตื้น ตื้นกว่า ตื้นที่สุด
  • กว้าง กว้างกว่า กว้างที่สุด
  • แคบ แคบกว่า แคบที่สุด

ระดับอายุ      

               2 ½ ขวบขึ้นไป

การแนะนำ    

แนะนำแบบตัวต่อตัวโดยการนำไปสาธิตที่โต๊ะ
               ครูจะแนะนำทรงกระบอกมีจุกชุดใดก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ แต่จากประสบการณ์จะพบว่าเด็กจะเห็นว่าชุดที่ 1 และชุดที่ 2 นั้นง่ายกว่าเพราะแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ควรแสดงให้เด็กเห็น วิธีการถือแท่งไม้บรรจุชุดอุปกรณ์ โดยใช้มือทั้งสองจับที่ปลายไม้แต่ละด้าน (โดยนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนและนิ้วทั้งสี่อยู่ด้านล่าง)
               ครูนั่งอยู่ทางด้านขวาของเด็กและวางชุดอุปกรณ์ไว้ด้านหน้า ใช้นิ้วทั้งสามคือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง จับทรงกระบอกที่จุกแล้วค่อยๆหยิบทรงกระบอกออกมาวางคละกันทีละชิ้นจนครบ หยุดสักครู่แล้วค่อยๆหยิบทรงกระบอกกลับใส่ช่อง โดยเลือกหยิบอันที่ใหญ่ที่สุดก่อน จากนั้นให้เด็กลองทำตาม

แบบฝึกหัดที่ 1

               ครูต้องตระหนักว่าการใส่ทรงกระบอกกลับลงในช่องที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างของการสาธิตแบบตัวต่อตัว ซึ่งกิจกรรมขั้นต่อไปจะยู่ในตอนที่แปด

แบบที่ 1 เด็กควรทำขั้นตอนตามที่ครูได้สาธิตให้ดู โดยเลือกทีละชุดก่อนจนกว่าจะทำได้จนคล่องทั้งสี่ชุด

แบบที่ 2 เด็กทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ครูสาธิตแต่ใช้ทรงกระบอกสองชุดโดยวางเป็นรูปตัว ‘v’

แบบที่ 3 เด็กทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ครูสาธิตแต่ใช้ทรงกระบอกสามชุดโดยวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ควรทำบนพื้นพรม

แบบที่ 4 เด็กทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ครูสาธิตแต่ใช้ทรงกระบอกสี่ชุดโดยวางเป็นรูปสี่เหลี่ยม ควรทำบนพื้นพรม

หมายเหตุ

               วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ  เด็กสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จโดยใช้เวลาได้เท่าที่เด็กต้องการ การใช้อุปกรณ์หลายชุดอาจยากเกินไปสำหรับเด็กอายุน้อย แต่อุปกรณ์แต่ละชุดก็จะมีครูแนะนำให้ก่อนแล้วและในความเป็นจริงก็สามารถเห็นได้ชัดเจนถ้าใส่ผิดช่อง

               ในกิจกรรมที่ 2, 3 และ 4 จะมีจำนวนของทรงกระบอกเพิ่มเป็น ยี่สิบ สามสิบ และสี่สิบ ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมเพิ่มความยากขึ้นเรื่อยๆ

ทรงกระบอกมีจุก

เพิ่มเติมขั้นที่ 1

                แสดงวิธีการวางแท่งใส่ทรงกระบอกมีจุกสองชุดบนโต๊ะ วางคละทรงกระบอกมีจุกทั้งสองชุดเข้าด้วยกัน แล้วนำแต่ละชิ้นกลับเข้าที่อย่างถูกต้อง

เพิ่มเติมขั้นที่ 2

                แสดงวิธีการวางแท่งใส่ทรงกระบอกมีจุก 3 ชุด เป็นรูปสามเหลี่ยมไว้บนโต๊ะ วางคละทรงกระบอกมีจุกทั้งสามชุดเข้าด้วยกันภายในทรงสามเหลี่ยม และนำแต่ละชิ้นกลับเข้าแต่ละช่องอย่างถูกต้อง

เพิ่มเติมขั้นที่ 3

                แสดงวิธีการวางแท่งใส่ทรงกระบอกมีจุก 4 ชุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสและวางคละทรงกระบอกมีจุกทั้งหมดในทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส

เพิ่มเติมขั้นที่ 4

  • ใช้ทรงกระบอกมีจุกเพียง 1 ชุด วางทรงกระบอกมีจุกคละกันไว้ บนโต๊ะ
  • ชี้ช่องใส่ทรงกระบอกมีจุกช่องใดช่องหนึ่ง แล้วบอกให้เด็กหาชิ้นที่ถูกต้องมาใส่
  • นี่เป็นวิธีทำกลับด้าน
  • ถ้าหากเด็กนำทรงกระบอกมีจุกมาผิดอัน ให้วางกลับไว้ที่เดิม แล้วเลือกชิ้นอื่นที่รู้สึกว่าใช่มาลองใส่อีก

เพิ่มเติมขั้นที่ 5

  • ใช้ทรงกระบอกมีจุก 1 ชุด นำทรงกระบอกมีจุกแต่ละชิ้นวางคละกันไว้ในถาดแล้วนำไปวางไว้บนโต๊ะฝั่งตรงข้ามที่ในห้อง
  • ชี้ช่องใส่ทรงกระบอกช่องใดช่องหนึ่ง แล้วบอกให้เด็กเดินไปหยิบชิ้นที่คิดว่าพอดีกับช่องนั้นมา ถ้าหากว่านำมาผิดเด็กจะต้องนำกลับไปไว้ในถาดแล้วเลือกชิ้นอื่นที่คิดว่าพอดีกับช่องที่ครูชี้ กลับมา

เพิ่มเติมขั้นที่ 6

  • ใช้ทรงกระบอกมีจุก 1ชุด วางคละทรงกระบอกแต่ละชิ้นไว้รอบๆห้อง
  • ชี้ช่องใส่ทรงกระบอกหนึ่งช่อง และบอกให้เด็กไปหาทรงกระบอกมีจุกชิ้นที่ถูกต้องมา หากเด็กนำมาผิดอัน ให้เด็กนำกลับไปไว้ที่เดิม แล้วเลือกชิ้นใหม่ที่รู้สึกว่าใช่กลับมา

วัตถุประสงค์หลัก:

  • เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะความแตกต่างของขนาด
  • เพื่อพัฒนาการด้านการรวมและการแบ่งกลุ่ม

วัตถุประสงค์รอง:

                  เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อด้านการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง